ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมือง
ยุทธศาสตร์ที่ ๑ ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
กลยุทธ์ ประกอบด้วย ๕ กลยุทธ์ ดังนี้
๑ การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ และการปรับปรุงบำรุงรักษาในเขตชุมชนและท้องถิ่น
๒ การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
๓ การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
๔ การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
๕ การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
ยุทธศาสตร์ที่ ๒ ยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งน้ำ
กลยุทธ์ ประกอบด้วย ๒ กลยุทธ์ ดังนี้
๑ ส่งเสริมเชื่อมโยงการชลประทาน ก่อสร้างฝาย ทำนบกั้นน้ำ ขุดลอก ขุดสระ พัฒนาแหล่งน้ำ คลองน้ำ
และกระจายการใช้ประโยชน์
๒ ก่อสร้างระบบแหล่งน้ำขนาดใหญ่
ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การพัฒนาสังคม
กลยุทธ์ ประกอบด้วย ๗ กลยุทธ์ ดังนี้
๑ การจัดการศึกษา
๑.๑ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยบูรณาการกับการศึกษา
๑.๒ ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีความพร้อมทั้งทางกายภาพและใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
๑.๓ ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ และยกวิทยฐานะให้สูงขึ้น
๑.๔ พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาตามหลักการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
๑.๕ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๒ การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา ,ผู้ด้อยโอกาส และผู้ติดเชื้อ HIV
๓. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ลดอุบัติเหตุจราจรทางบก/ทางน้ำ
๔ การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล การเสริมสร้างดูแลสุขภาพประชาชน และการ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
๕ การป้องกัน การแพร่ระบาดปัญหายาเสพติด
๖ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรม/จริยธรรม แก่ประชาชนในท้องถิ่น
๗ การสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาเศรษฐกิจ
กลยุทธ์ ประกอบด้วย ๕ กลยุทธ์ ดังนี้
๑ ส่งเสริมกิจการพาณิชย์และการลงทุน / ตลาดเพื่อการพาณิชย์
๒. เสริมสร้างเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
๓ ส่งเสริมอาชีพ/พัฒนาสินค้าชุมชน/ตลาดชุมชน/ร้านค้าชุมชน
๔ เพิ่มความเข้มแข็งด้านการเกษตรกรรม/สินค้าชุมชน
๕ เสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ ๕ ยุทธศาสตร์การบริหารราชการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
กลยุทธ์ ประกอบด้วย ๓ กลยุทธ์ ดังนี้
๑. ส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นในทุกๆ ด้าน ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี
๒ การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคคลากรให้มีความเหมาะสมสอดคล้อง
๓ ส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของภาครัฐ
ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน
กลยุทธ์ ประกอบด้วย ๒ กลยุทธ์ ดังนี้
๑. การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ ในท้องถิ่นและชุมชน
๒ การบริหารจัดการ / ส่งเสริม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่สืบไป
ยุทธศาสตร์ที่ ๗ การพัฒนาการท่องเที่ยว
กลยุทธ์ ประกอบด้วย ๗ กลยุทธ์ ดังนี้
๑. พัฒนารายได้จากการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การเป็นศูนย์กลางฝึกอบรม กีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ
๒. สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้านศาสนา โบราณสถาน โบราณวัตถุ
ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
๓ ค้นหาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
๔ พัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการเข้าแหล่งท่องเที่ยวและป้ายบอกทาง
๕ การเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการ/การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและการเพิ่มมัคคุเทศน์ท้องถิ่น
๖. การพัฒนาผู้มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว
๗. สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว/ศูนย์ประสานการท่องเที่ยว
|