ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา
ในช่วงสามปี
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมือง ภายใต้แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ. 2548 – 2552) เป็นการกำหนดว่าในอนาคตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมืองจะเป็นไปในทิศทางใด และเป็นเครื่องมือกำหนดแนวทางการพัฒนาของแผนพัฒนาตำบล 3 ปี (พ.ศ. 2551 – 2553) ว่ามีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลเพียงใด โดยมีรายละเอียดแนวทางการพัฒนาดังนี้
วิสัยทัศน์การพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลดอนเมือง
“เกษตรกรเพิ่มรายได้ ก้าวไกลทางการศึกษา พัฒนาสังคม การคมนาคมสะดวก”
ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาในช่วง 3 ปี
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
แนวทางการพัฒนา
1) การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ และการปรับปรุงบำรุงรักษาในเขตชุมชนและท้องถิ่น
2) การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่นๆ
3) การสร้างและบำรุงรักษาทางบกและทางน้ำที่เชื่อมต่อระหว่าง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น
4) การจัดการและดูแลสถานีขนส่งทั้งทางบกและทางน้ำ
5) การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
6) การสาธารณูปโภค – สาธารณูปการ
2. ยุทธศาสตร์น้ำแก้จน
แนวทางการพัฒนา
1) ส่งเสริมเชื่อมโยงการชลประทาน ก่อสร้างฝาย ทำนบกั้นน้ำ ขุดลอก ขุดสระ พัฒนาแหล่งน้ำ คลองน้ำ และกระจายการใช้ประโยชน์
2) ก่อสร้างระบบแหล่งน้ำขนาดใหญ่
3) การพัฒนาลุ่มน้ำ
3. ยุทธศาสตร์สร้างสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
แนวทางการพัฒนา
1) การจัดการศึกษา
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยบูรณาการกับการศึกษา
- ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีความพร้อมทั้งทางกายภาพและใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
- ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ และยกวิทยฐานะให้สูงขึ้น
- พัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาตามหลักการบริหาร โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
- ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2) การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส และผู้ติดเชื้อ HIV
3) การสนับสนุนส่งเสริมความเป็นเลิศด้านกีฬา กีฬาแห่งชาติ และการสนับสนุนส่งเสริมกีฬานานาชาติ
4) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย/ลดอุบัติเหตุจราจรทางบก/ทางน้ำ
5) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว การรักษาพยาบาล การเสริมสร้างดูแลสุขภาพประชาชน และการควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
6) การป้องกัน การแพร่ระบาดปัญหายาเสพติด
7) การรณรงค์และประชาสัมพันธ์เพื่อปลูกจิตสำนึกด้านคุณธรรม/จริยธรรม แก่ประชาชนในท้องถิ่น
8) การสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
4. ยุทธศาสตร์เสริมสร้างความสามารถทางเศรษฐกิจและบรรเทาปัญหาความยากจน
แนวทางการพัฒนา
1) ส่งเสริมกิจการพาณิชย์และการลงทุน / ตลาดเพื่อการพาณิชย์
2) เสริมสร้างเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
3) ส่งเสริมอาชีพ/พัฒนาสินค้าชุมชน/ตลาดชุมชน/ร้านค้าชุมชน
4) เพิ่มความเข้มแข็งด้านการเกษตรกรรม/สินค้าชุมชน
5) เสริมสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น
6) การพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสิ่งทอ
7) การสร้างเครือข่ายสินค้าชุมชน/ศูนย์ประสานสินค้าชุมชน
8) พัฒนาและส่งเสริมการค้าของชุมชนในเชิงพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์
9) พัฒนาและส่งเสริมโรงสีชุมชน
5. ยุทธศาสตร์การบริหารราชการตามหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
1) ส่งเสริมศักยภาพของท้องถิ่นในทุกๆ ด้าน ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี
2) ส่งเสริมการกระจายอำนาจถ่ายโอนภารกิจและบุคคลากรภาครัฐลงสู่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3) การพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรให้มีความเหมาะสมสอดคล้องส่งเสริมประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมของภาครัฐ
6. ยุทธศาสตร์การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดความสมดุลอย่างยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา
1) การจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่างๆ ในท้องถิ่นและชุมชน
2) การกำจัดมูลฝอยรวมและสิ่งปฏิกูลรวม และการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะระดับอำเภอ
3) การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย ในชุมชนและท้องถิ่น
4) การจัดการ การบำรุงรักษา และการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ การใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) การสนับสนุนและรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ท้องถิ่นรักษ์สิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงาน
6) การปลุกจิตสำนึกและค่านิยมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความรู้และความเข้าใจในการอนุรักษ์และส่งเสริมการค้นหาสิ่งอื่นๆ ในท้องถิ่นไปทดแมนพลังงาน
7) การเผยแพร่/ประชาสัมพันธ์/อนุรักษ์มรดกทางธรรมชาติ ทั้งระดับชาติ และสากล
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์
แนวทางการพัฒนา
1) พัฒนาระบบและเพิ่มศักยภาพการผลิต/ผลผลิตด้านเกษตรอินทรีย์
2) การลดค่าใช้จ่ายการเกษตรกร
3) การเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร
4) การประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้เกษตรกรมีความเชื่อมั่นในการใช้เกษตรอินทรีย์แทนปุ๋ยวิทยาศาสตร์
8. ยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว
1) พัฒนารายได้จากการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น การเป็นศูนย์กลางฝึกอบรม กีฬาเพื่อการท่องเที่ยวและนันทนาการ
2) สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวด้านศาสนา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์
3) ค้นหาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่
4) พัฒนาสาธารณูปโภค สาธารณูปการเข้าแหล่งท่องเที่ยวและป้ายบอกทาง
5) การเพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการ/การประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและการเพิ่มมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
6) การพัฒนาผู้มีส่วนร่วมในการท่องเที่ยว
7) สร้างเครือข่ายการท่องเที่ยว/ศูนย์ประสานการท่องเที่ยว
นโยบายการพัฒนาจังหวัด
ประเด็นยุทธศาสตร์ของจังหวัด (Strategic Issues)
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตร
เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
1. เพิ่มขีดความสามารถในการผลิตให้แก่เกษตรกร
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
1. ส่งเสริมการตลาดนำการผลิต
2. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
3. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืน
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว
เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
1. เพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว
2. พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว
3. เพิ่มศักยภาพสินค้าและบริการ
4. พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก
5. พัฒนาผู้มีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยว
4. ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาสังคมและความเดือดร้อนของประชาชน
เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
1. ลดระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดยาเสพติดให้อยู่ในระดับที่สามารถควบคุมได้
2. สร้างความมั่นคงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
3. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
4. ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยปราศจากสารปนเปื้อน
5. ลดการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบก
5. ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ของยุทธศาสตร์
1) เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริการภาครัฐให้แก่ประชาชนอย่างมีคุณภาพและมี ประสิทธิภาพ
วิสัยทัศน์การพัฒนาของจังหวัด
“ประตูสู่อีสาน ศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ การแปรรูปสินค้าเกษตรและการท่องเที่ยว”
นโยบายการพัฒนาอำเภอ
เป็นไปตามแนวทางการพัฒนาของจังหวัด
นโยบายของคณะผู้บริหารท้องถิ่น
ผู้บริหารท้องถิ่นมีแนวทางนโยบายในการพัฒนาให้ “ชุมชนมีความสงบสุขน่าอยู่น่าอาศัย ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนและการบริหารจัดการที่ดี
|